วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

[7] New me :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)

สวัสดีค่ะทุกคน ^ ^
สำหรับการอัพบล็อคครั้งที่ 7 ในครั้งนี้ ก็ยังคงต่อเนื่องจากบล็อคที่ผ่านมา
คือจะพูดถึงโปรเจกต์ I can change หรือพัฒนาการในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นกันนะคะ
สำหรับสิ่งที่จะนำเสนอในวันนี้ คือผลลัพธ์ของการฝึกฝนการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นในครั้งที่ 2 ค่ะ
หลังจากที่ครั้งแรกพูดไปแบบมั่วๆ และ ครั้งที่สองเป็นการเรียนรู้และเขียนแก้ไขนะคะ




อาทิตย์ที่ผ่านมา อาจารย์ให้เล่าเรื่อง 外国人 อีกครั้งหนึ่งอย่างกะทันหันค่ะ ถึงกับตกใจกันเลยทีเดียว (ฮา) แต่ไหนๆเราก็มีการฝึกมาบ้างแล้ว ทีนี้ลองมาดูผลลัพธ์ที่แท้จริงกันดีกว่าค่ะ

ครั้งนี้ เราพูดออกไปแบบนี้ค่ะ



 「実はね、昨日、面白い話を聞いたんですけど・・(えー、そうですか。) はい、その話はね、え・・ホテルのロビーで、二人の男の人が座っていました。一人の人は新聞を読んでいましたが、もう一人は・・え・・ただ座っていて、何もしなくてボーとあたりを見回していました。(うーん) すると、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。(あーそうですか。) そのおじさんはね、何か頼みごとをしたみたいで、その男性に近づいてきました。その男性は外国人と話す経験があまりなかったか、めんどくさいことになると思っているか、「あ、やばい!」と思って、() 笑、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、新聞の陰・・に隠れてしまいました。その外国人のおじさんはね、びっくりしました。(えーかわいそうね。)」



ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็ยังคิดว่ามันดีขึ้นกว่าคราวแรกมากอยู่เหมือนกันนะคะ ฮ่าๆ ถึงจะมีตะกุกตะกักอยู่บ้างเนื่องจากค่อนข้างกะทันหัน แต่จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาทำให้เราระมัดระวังในเรื่องของการใช้ 表現 ในด้านของคำบรรยายและคำศัพท์มากขึ้น อย่างเช่น 目が合ってしまいました、新聞の陰に隠れてしまいました เป็นต้น เพราะจากเดิมที่คิดไม่ออกเลยว่าจะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นยังไง แต่พอเราเรียนแล้ว เหมือนเรามีคำศัพท์อยู่ในหัวอยู่ และห้พูดอีกครั้ง เลยสามารถเลือกใช้และพูดออกมาได้ค่ะ 

นอกจากนี้ยังมีการใช้คำเชื่อมที่ฟังดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น เช่น すると เป็นต้น โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยใช้ そして เท่าไรนัก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ีดี แต่ก็ไม่รู้จะใช้คำเชื่อมอะไรเหมือนกัน (ฮา) แต่พอได้เรียนรู้การเล่าเรื่อง ก็ทำให้รู้จักเลือกใช้คำเชื่อมขึ้นมาค่ะ

รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับผู้ฟัง โดยการใช้คำว่า  เป็นระยะ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจในผู้ฟัง และการตอบรับสิ่งที่ผู้ฟังตอบมา อย่างการขานรับว่า はい หรือว่า そうです。ซึ่งก็สามารถจดจำและทำตามได้
และยังมีการใช้คำพูดในการบรรยายความรู้สึกตัวละครในเรื่อง เพื่อที่ผู้ฟังจะได้เข้าใจสถานการณ์หรือมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องที่เล่ามากขึ้นด้วยค่ะ

โดยรวมแล้วรู้สึกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่ทำให้พัฒนาความสามารถในการพูดของตนเอง และระมัดระวังในการใช้คำต่างๆมากขึ้นกว่าเดิมมาก และทำให้เรียนรู้ที่จะมีสติและคอยเตือนตัวเองเรื่องการใช้คำหรือ 表現 ต่างๆมากขึ้นค่ะ และสำหรับเราแล้วมันค่อนข้างได้ผลทีเดียว ถึงจะเป็นเพราะจำได้เพราะเคยพูดมาแล้วครั้งนึงและเขียนแก้ไปแล้วครั้งนึงก็เถอะ แต่อย่างน้อยก็ได้รู้ว่ามันก็มีจำๆอยู่ในสมองเราเหมือนกันเนอะ ... อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ ฮ่าๆๆ





วันนี้อาจจะค่อนข้างสั้นนิดหน่อย เพราะเป็นการนำเสนอผลลัพธ์จากการฝึกฝนมา ซึ่งสำหรับตัวเราเองค่อนข้างพอใจในผลที่เกิดขึ้นนะคะ แต่ส่วนที่ต้องแก้ไขต่อไปก็ยังคงมีเหมือนกัน อย่างเช่น การใช้คำว่า えー ตอนคิด ซึ่งเราติดมากๆ www หรือการเลือกใช้คำอื่นๆ

ก็หวังว่าต่อไปสกิลการเล่าเรื่องของเราจะดีขึ้นจากการเริ่มต้นนี้ และเราเองก็จะพยายามระมัดระวังในการใช้คำพูดต่างๆมากขึ้นเหมือนกันค่ะ TwT สู้ !


สำหรับวันนี้ก็ขอจบการรายงาน (?) ผลลัพธ์ของโปรเจกต์ I can change เพียงเท่านี้นะคะ

สวัสดีค่า >_<

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

[6] พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)

สวัสดีค่ะ วันนี้เป็นการอัพบล็อกครั้งที่ 6 นะคะ ^ ^
สำหรับวันนี้จะมาในหัวข้อ I can change
ซึ่งเป็นการเล่าถึงพัฒนาการในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างเป็นขั้นตอนโดยเล่าภาพต่อไปนี้ค่ะ





และจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆในการใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเล่าเรื่องด้วย
จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ลองมาติดตามกันดูนะคะ >_<



By myself : เป็นครั้งแรกที่เห็นภาพด้านบน และอาจารย์ให้เล่าให้เพื่อนฟังเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งค่อนข้างจะออกมาตะกุกตะกักและมั่วมากค่ะ (ฮา) เขินนิดหน่อยที่จะต้องลงอะไรตลกๆ แต่ว่าเพื่อการเรียนรู้ ครั้งแรกจากการถอดเทป เราเล่าประมาณนี้ค่ะ


 「ホテルのロビーはソファで二人の男の人が座っていました。え・・一人は新聞を読んでいましたけど、え・・もう一人は、え・・・ただ座っていました。しかし、ある外国人がいます。彼は地図を持って、カメラも持っていました。彼はただ座っていた人と目と合わせて、近づいていきました。その座っていた人はすごくびっくりして、え、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、自分を隠しました。外国人はびっくりしました。」



สิ่งที่อยากจะพูดแต่ไม่สามารถคิดและพูดออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ในทันทีมีอยู่หลายคำมากเลยค่ะ อย่างเช่น อยากจะพูดว่านั่งอยู่เฉยๆ แต่ ’เฉยๆ’ นีจะสื่อออกไปยังไงดี, อยากจะบอกว่าสบสายตากันโดยบังเอิญ แต่ก็ไม่สามารถพูดได้ เลยพูดออกไปตามที่คิดออกตอนแรกก็คือ 目と合わせて ซึ่ง ... น่าอายมากค่ะ T/////T
และอีกประการหนึ่งก็คือการที่อยากบรรยายความรู้สึกของคนในภาพให้มากกว่านี้ แต่ไม่สามารถพูดอะไรได้นอกจากคำว่า びっくりしました ซึ่งก็ทำให้รู้ตัวเองเลยค่ะว่าบกพร่องตรงนั้นไปอย่างแน่นอน

แต่หลังจากนั้น อาจารย์ก็แจกชีทที่คนญี่ปุ่นเล่าเรื่องทั้งหมด 11 คนมาให้อ่านและศึกษาดู รวมถึงอาจารย์ได้มีการสอนในชั้นเรื่องการเล่าเรื่อง 表現 ต่างๆที่ควรใช้และความเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงการบรรยายเรื่องต่างๆให้ ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ หลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งฉบับแก้อีกหนึ่งครั้ง  โดยจากการเรียนรู้และการศึกษาแล้ว เราส่งฉบับที่แก้ไปดังนี้ค่ะ


I see :

 「ホテルのロビーに二人の男の人がソファで座っていました。一人は新聞を読んでいましたけど、もう一人は何もしなくただ座っていました。ボーとあたりを見回していると、ふと、カメラを首からぶらさげ、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。すると、突然そのおじさんは笑顔で何か頼みごとをしたそうに近づいてきました。その男性は外国人と話す経験があまりないか、めんどくさいことになると思うか、「やばい!」と思って、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、新聞の陰に隠れてしまいました。外国人のおじさんはびっくりして、言葉を失っていた、という話です。」


ซึ่ง ... แตกต่างจากครั้งแรกราวฟ้ากับเหว(ลึก)เลยล่ะค่ะ (ฮา)
จากการเรียนรู้จากชีทที่อาจารย์แจกให้และจากที่อาจารย์สอน ทำให้เราได้เรียนรู้ 表現 ที่ใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาติอยู่หลายอย่างเลยค่ะ อย่างเช่น การใช้ ふと ที่แปลว่า บังเอิญ目が合ってしまう、新聞の陰に隠れる และการใช้ ~てしまいました เป็นต้น
นอกจากนึัยังได้รู้ว่าในการเล่าเรื่อง คนญี่ปุ่นนั้นมีการใส่ความคิดเห็นของตัวเองลงไปด้วย อย่างเช่น การที่ตัวละครในภาพหลบชาวต่างชาติ ก็มีการใส่ความคิดเห็นลงไปว่า อาจเป็นเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการพูดคุยกับชาวต่างชาติ หรืออาจเพราะไม่อยากยุ่งยากหรือลำบาก เป็นต้น ซึ่งก็จะทำให้ผู้ฟังคิดตามและจินตนาการได้ง่ายขึ้นค่ะ
และอีกประการหนึ่งก็คือ การบรรยายความรู้สึกของคนในภาพ ที่ในตอนแรกเราไม่สามารถบอกอะไรได้เลยนอกจากคำว่า びっくりした แต่ก็เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นมีการใช้คำพูดบรรยายความคิด เพื่อให้ผู้ฟังจินตนาการได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ ในที่นี้ก็เช่น 「やばい!」と思って、・・・ นั่นเองค่ะ

หลังจากที่ได้เรียนรู้จากชีทและอาจารย์แล้ว ก็รู้สึกว่าการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ของตัวเองนั้นดีขึ้นเป็นอย่างมากเลยค่ะ เพราะว่าทำให้รู้ว่าควรจะอธิบายอย่างไร และทำให้ระวังตัวในการเลือกใช้คำ รวมไปถึง 表現 ต่างๆมากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็จะพยายามจดจำและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆรวมถึงในชีวิตประจำวันต่อไปด้วยค่ะ





ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการรายงานการพัฒนาตนเองในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นในโปรเจกต์ I can Change
ซึ่งในบล็อคถัดไป ก็ยังคงอยู่ในหัวข้อนี้นะคะ แต่ว่าเป็นการให้เล่าเรื่องเดิมซ้ำอย่างคาดไม่ถึงค่ะ (ฮา)
ผลที่แท้จริง(?)ภายหลังจากการเรียนรู้จะเป็นอย่างไรนั้น มาลองติดตามกันในบล็อคหน้านะคะ ^ ^;;

สำหรับวันนี้ สวัสดีค่า >_<

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

[5] มารู้จักคันจิในการเรียกการตายในแบบต่างๆกันเถอะ !

สวัสดีค่าทุกคน
สำหรับการอัพบล็อกครั้งนี้ เป็นแนวน่ากลัว(?)นิดๆนะคะ
นั่นก็คือ ชื่อเรียกการตายในรูปแบบต่างๆ นั่นเองค่ะ

โดยสาเหตุที่จะทำคันจิชุดนี้ เนื่องมาจากการอ่านโคนัน เล่มที่ 81 ค่ะ
จากภาพ สังเกตว่าจะมีคำว่า 溺死 (できし) ที่แปลว่า จมน้ำตาย ไว้ด้วย



เลยทำให้คิดขึ้นมาว่า แล้วการตายแบบอื่นๆล่ะ ? จะมีคันจิรึเปล่านะ ?
ก็เลยลองทำการค้นหาดู และนำมานำเสนอในวันนี้ค่า ^ ^

ขออนุญาตไม่มีภาพประกอบ เพื่อความสะดวก(ใจ)ในการรับชมนะคะ ฮ่าๆ

1. 頓死 (とんし) ・ 突然死 (とつぜんし) = ตายทันที
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
彼は交通事故で頓死した。เขาเสียชีวิตทันทีในอุบัติเหตุทางรถยนต์

2. 老死(ろうし)= แก่ตาย
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
祖父が老死したのをあの子に伝えます。ฉันจะบอกเด็กคนนั้นว่าคุณปู่เสียชีวิตเนื่องจากโรคชรา

3. 病死(びょうし)= ป่วยตาย
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
彼は肺がんで病死した。เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด

4. 焼死(しょうし)= ไฟคลอกตาย
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
火事で多くの人が焼死した。ผู้คนจำนวนมากถูกไฟคลอกตายในเหตุเพลิงไหม้

5. ショック死 = ช็อคตาย ช็อคในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตกใจ นะคะ แต่เป็นการช็อคจากบาดแผล หรือการรับยาบางชนิดค่ะ
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
彼は外傷でショック死した。เขาช็อคเสียชีวิตเนื่องจากบาดแผลภายนอก

6. 即死(そくし)= ตายคาที่
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
彼は車にひかれて即死した。เขาถูกรถชนเสียชีวิตคาที่

7. 煙死(えんし)= ตายเพราะควันหรือก๊าซพิษ
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
火事で煙死した人がたくさんいました。มีคนที่เสียชีวิตจากการสำลักควันในเหตุเพลิงไหม้เป็นจำนวนมาก

8. 震死(しんし)= ฟ้าผ่าตาย
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
彼は震死したなんて信じられない。ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าเขาจะถูกฟ้าผ่าตาย

9. 凍死(とうし)= แข็งตาย
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
その年の冬北ヨーロッパはひどい寒さだったので、多くの人々が凍死したそうだ。ได้ยินมาว่าฤดูหนาวในปีนั้น ที่ยุโรปเหนืออากาศหนาวมากจนมีคนแข็งตายเป็นจำนวนมาก

10. 毒死(どくし)= ตายเนื่องจากยาพิษ
ยกตัวอย่างประโยค เช่น
白雪姫は毒リンゴを食べて、毒死した。เมื่อสโนว์ไวท์ทานแอปเปิลอาบยาพิษลงไป เธอก็เสียชีวิต






เป็นยังไงบ้างคะ ^ ^ คราวนี้เราก็รู้จักคันจิของการตายหลายๆแบบเลย
นอกจากจะทำให้ได้รู้คำศัพท์และอ่านโคนัน(?) หรือข่าวต่างๆได้ด้วยคำที่เข้าใจง่ายขึ้นแล้ว
ยังสามารถเอาไปใช้ในวิชาการแปลได้ต่อๆไปด้วยเนอะ

แล้วพบกันใหม่กับคำศัพท์ใหม่ๆในบล็อกหน้านะคะ

สำหรับวันนี้สวัสดีค่า ^ ^