วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

[10] มารู้จักคันจิหน้าตาแปลกๆแต่เราคุ้นเคยกันเถอะ ! こんな面白い漢字があるんだよ!

สวัสดีค่าทุกคน ^ ^
ในที่สุดก็สอบเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่า TT[]TT
สำหรับวันนี้ก็เป็นการอัพบล็อกเป็นครั้งที่ 10 แล้วค่ะ
หัวข้อในวันนี้ก็คือ

คันจิหน้าตาแปลกๆแต่ว่าเราคุ้นเคย ค่ะ

แค่ชื่อหัวข้อก็น่าสนใจแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ฮ่าๆ
ผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะคุ้นเคยกับวิธีแยกส่วนประกอบของตัวคันจิเวลาต้องจำตัวคันจิยากๆใช่มั้ยคะ
เราเองก็ทำแบบนั้นจนเป็นนิสัยเหมือนกันค่ะ และก็พบว่ามันทำให้ง่ายขึ้นและช่วยได้อย่างมหาศาลเลย

วันนี้สิ่งที่จะนำเสนอ มองเผินๆอาจจะดูมีเส้นยุบยับจนปวดหัว
แต่ถ้าแยกส่วนประกอบออกมาล่ะก็ รับรองว่าเป็นคันจิที่ทุกคนคุ้นเคยและรู้จักกันดีอย่างแน่นอนค่ะ

ถ้าอย่างนั้น เรามาดูไปด้วยกันดีกว่านะคะ >_<



嬲る(なぶる)

เห็นคันจิแล้วรู้สึกคุ้นๆกันมั้ยคะ ?
ถูกต้องค่า ! มาจากคันจิคำว่า 男 (ผู้ชาย) กับ 女 (ผู้หญิง) มาประกอบกันนั่นเองค่ะ !ความหมายของคันจิตัวนี้ก็คือ การกลั่นแกล้ง การล้อเลียน ค่ะ

ตัวอย่างประโยคนะคะ

 - 彼女は子供のとき、さんざんに嬲られた

ตอนเด็กๆ เธอโดนกลั่นแกล้งอย่างรุนแรง




犇めく(ひしめく)

แล้วคันจิตัวนี้ล่ะคะ ? คุ้นๆกันมั้ยเอ่ย ?
ถ้าลองดูดีๆ คันจิตัวนี้มาจากคันจิตัว 牛 (วัว) 3 ตัวมาประกอบกันนั่นเองค่า !
สำหรับความหมายของคันจิตัวนี้ก็คือ (คนจำนวนมาก) ส่งเสียงดังเอะอะ นั่นเองค่ะ


ตัวอย่างประโยคนะคะ


 - 観衆が犇めく

ผู้ชมส่งเสียงดัง



磊落(らいらく)

คันจิตัวข้างหน้าคุ้นๆกันมั้ยคะ ?
มันมาจากคันจิ 石 (ก้อนหิน) 3 ตัวประกอบกันนั่นเองค่ะ
ความหมายก็คือ ใจกว้าง นั่นเองค่ะ

ตัวอย่างประโยคนะคะ

 - 彼は磊落な風にしている。

เขาเป็นคนง่ายๆสบายๆ



鰓 (えら)

คันจิตัวนี้มาจากคำว่า 魚 (ปลา) กับ 思 (ความคิด) ใช่มั้ยคะ ?
แล้ว ปลาคิด นี่ จะกลายเป็นคำว่าอะไรกันนะ ?
คำตอบก็คือ แปลว่า เหงือก (ที่สัตว์น้ำใช้หายใจ) นั่นเองค่ะ



兀兀(こつこつ)

สำหรับตัวนี้เป็นตัวพิเศษที่น่าสนใจมากเลยละค่ะ
มาจากตัว ไพร์ ที่เอาไว้คำนวณเส้นรอบวงสองตัวนั่นเองค่ะ
น่าสนใจมากเลยใช่มั้ยล่ะคะ ? ฮ่าๆ
สำหรับคันจิน่ารักตัวนี้ แปลว่า อย่างขยันขันแข็ง นะ

ตัวอย่างประโยคก็คือ

 - 来週、試験がありますから、兀兀と勉強している。

เพราะอาทิตย์หน้ามีสอบก็เลยอ่านหนังสืออย่างขยันขันแข็ง





เป็นยังไงบ้างคะ ^ ^ ?
ได้รู้จักกับคันจิที่ประกอบจากคันจิที่เราคุ้นเคยเป็นคันจิตัวเดียวกันแล้วเนอะ
การแยกส่วนประกอบคันจิเนี่ย ทำให้สามารถจำคันจิตัวนั้นๆได้ง่ายขึ้นจริงๆเลยนะคะ
ถ้าหากเราเจอคันจิน่าสนใจตัวไหนอีก จะเอามานำเสนอให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อน สวัสดีค่า <3






วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

[9] วิธีอ่านของ「人」แบบนี้ก็มีนะ ! こんな面白い読み方があるんだよ!

สวัสดีค่า ^ ^
ตอนนี้อยู่ในระหว่างช่วงสอบค่ะ TT__________TT
รู้สึกหนักหน่วงเป็นอันมาก แต่ไหนๆวันนี้ก็ได้หยุดเพื่อจะสอบพรุ่งนี้ (?)
ก็เลยมาอัพสิ่งที่น่าสนใจให้ผู้อ่านทุกๆท่านได้อ่านกันค่ะ

สำหรับหัวข้อในวันนี้จะขอนำเสนอ ...

คันจิ「人」ที่อ่านแตกต่างไปจากปกติ ค่า >_<

พอเราเห็นคำว่า 「人」ปุ๊บ เราก็จะคุ้นเคยกับวิธีอ่านว่า 「ひと」หรือ 「じん」และ 「にん」กันใช่มั้ยคะ ถ้าอย่างนั้น ...


「若人」 อ่านว่าอะไรเอ่ย ?

ขอสารภาพตามตรงเลยว่าตอนเห็นคำนี้ในสมองก็จะอ่านไปว่า 「わかひと」อัตโนมัติเลยล่ะค่ะ T T;
แต่จริงๆแล้วมันอ่านว่าอะไรทราบกันมั้ยคะ ?

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ...

อ่านว่า「わこうど」 ค่า !!!

ถึงขนาดต้องร้อง อหหหห กันเลยทีเดียว
จริงๆแล้วเห็นว่าใช้คันจิ 「人」ก็ไม่ได้อ่านว่า 「ひと」เสมอไปนะคะ TwT
นี่หน้าแตกมากี่หนแล้วเนี่ย ;; ?

จริงๆแล้วยังมีคำที่อ่านด้วยวิธีนี้อีกมากเลย แต่เพื่อให้เพื่อนๆสามารถจำได้ง่ายๆและไม่เยอะจนเกินไป
วันนี้เลยขอเสนอคำศัพท์ 4 คำที่ประกอบด้วยคันจิ 「人」ที่อ่านว่า 「-うど」หรือ「-うと」ค่ะ ^ ^
มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่า !




「若人」 = 「わこうど」

แปลว่า วัยรุ่น หรือ 若者 นั่นเองค่ะ

มาดูตัวอย่างประโยคกันนะคะ

 - 若人も老人も、このテレビ番組が好きですよ。
ทั้งวัยรุ่นและคนสูงอายุต่างก็ชอบรายการโทรทัศน์รายการนี้ทั้งนั้น




「仲人」 ไม่ได้อ่านว่า 「なかひと」 นะคะ แต่อ่านว่า なこうど」 ค่ะ
แปลว่า พ่อสื่อแม่สื่อ หรือ คนกลาง ค่ะ
นอกจากนี้ยังมีกริยาว่า 「仲人をする」แปลว่า เป็นพ่อสื่อ/แม่สื่อ หรือ เป็นคนกลาง ได้ด้วยนะคะ

ตัวอย่างประโยคค่ะ

 ー 仲人の私もいつか誰かと結婚したい。
แม่สื่ออย่างฉันเองสักวันก็อยากจะแต่งงานกับใครสักคนเหมือนกัน



「素人」ไม่ได้อ่านว่า 「もとひと」แต่อ่านว่า 「しろうと」ค่ะ
แปลว่า มือสมัครเล่น, มือใหม่ ค่ะ

ตัวอย่างประโยคนะคะ

 - 彼はまだ素人ですから、あのことについて全く分からない。
เพราะเขายังเป็นมือสมัครเล่นอยู่เลยไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นเลย



และคำสุดท้าย ตรงข้ามกับคำข้างบน คือคำว่า

「玄人」ค่ะ
ไม่ได้อ่านว่า 「げんにん」หรือ 「げんじん」นะคะ แต่อ่านว่า 「くろうと」ค่า
แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ ค่ะ

ตัวอย่างประโยคนะคะ

 - 彼はピアノを弾くのがとても上手で、玄人みたいです。
เขาเล่นเปียโนเก่งมากราวกับผู้เชี่ยวชาญ





เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน ^ ^
ทีนี้เราก็ได้เรียนรู้วิธีอ่านคันจิเพิ่มขึ้นแล้วนะคะ
ทำให้รู้สึกว่าคันจิภาษาญี่ปุ่นนี่มันยากจริงๆเลย OTL มีวิธีการอ่านแบบที่คาดไม่ถึงเยอะแยะเลยค่ะ
สำหรับวันนี้ต้องขอตัวลาไปอ่านหนังสือต่อก่อนนะคะ ครั้งหน้าจะนำเสนออะไรให้ทุกๆท่านได้อ่านกันนั้น ขอเก็บไว้เป็นความลับก่อนนะคะ
ไว้พบกันใหม่ในการอัพบล็อกครั้งถัดไปค่ะ สวัสดีค่า >_< !




วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

[8] มารู้จักคำศัพท์ในสนามบินกันเถอะ ! 空港の用語を覚えよう !

สวัสดีค่าทุกคน ^ ^ หลังจากสามารถโผล่(?)ออกมาจากกองงานได้ในที่สุด
ก็มาอัพบล็อคครั้งที่ 8 ได้แล้วล่ะค่า TwT เย้ๆ
สำหรับวันนี้จะมาในหัวข้อ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ค่ะ !

สาเหตุที่คิดจะทำหัวข้อนี้ขึ้นมา เพราะว่าในคาบของอาจารย์ที่ผ่านมาเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน
มีการให้เล่าเรื่องที่ตัวละครอยู่ในสนามบินเป็นภาษาญี่ปุ่น เนื้อหาประมาณว่าเกทปิดไปซะแล้ว
ตอนที่เล่าก็คิดว่าเกทคืออะไร ... คนญี่ปุ่นก็คงเรียกว่าเกทเฉยๆเหมือนกัน ก็เลยพูดไปว่า เกท (ゲート) ไปเลยค่ะ
ทำให้มานั่งคิดว่า อืม ... จริงๆแล้วคำเต็มๆของมันในภาษาญี่ปุ่นมีรึเปล่านะ แล้วคำศัพท์เกี่ยวกับอย่างอื่นในสนามบินล่ะ ? เวลาเราไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อยๆก็ไม่ค่อยได้สังเกตอะไรมาก
แล้วถ้าต้องพูดกับคนญี่ปุ่นหรือเจ้าหน้าที่ในสนามบินก็น่าจะพูดอธิบายลำบากเนาะ

อย่างเช่น ::

ฉันทำบอร์ดดิ้งพาสกับใบรับกระเป๋าหาย ... ไม่ทราบว่ามีเคาท์เตอร์ติดตามสัมภาระสูญหาย (Lost & Found Counter) อยู่ใกล้ๆกับจุดรับกระเป๋าเดินทางมั้ยคะ ?

ถ้าให้ลองคิดเป็นภาษาญี่ปุ่น :

「ボーディングパースと・・・かばんを取るチケットをなくしてしまったんですが・・・
かばんを取る場所の周りに・・・落し物のカウンターはありませんか。」

............................. อืมมมมมม พอเถอะ T________T

เลยเป็นที่มาของบล็อคในวันนี้นั่นเองค่ะ ^ ^
สำหรับคำศัพท์ที่จะนำเสนอในวันนี้มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่า !



空港の用語 ::

ก่อนอื่นเราก็มาดูสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจ(?)กันก่อนเลยดีกว่าค่ะ นั่นก็คือ เกท นั่นเอง
ภาษาญี่ปุ่นก็คือ ...

搭乗ゲート (とうじょうゲート) นั่นเองค่าาาาาา






คราวนี้จะสามารถพูดได้เต็มๆไม่ลืมแล้วเนาะ

ทีนี้เรามาดูคำศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวกับสนามบินกันดีกว่าค่ะ




1. 搭乗券 (とうじょうけん) = บอร์ดดิ้งพาส (Boarding Pass) หรือบัตรโดยสารขึ้นเครื่องบิน




2. 到着ロビー (とうちゃくロビー) = ล็อบบี้ผู้โดยสารขาเข้า






3. 出発ロビー (しゅっぱつロビー) = ล็อบบี้ผู้โดยสารขาออก





4. 機内持ち込み手荷物 (きないもちこみてにもつ) = กระเป๋าถือขึ้นเครื่องบิน (Carry-on luggage)







5. 預けた手荷物 (あずけたてにもつ) = สัมภาระใต้ท้องเครื่อง






6. 入国審査 (にゅうこくしんさ) = ตรวจคนเข้าเมือง (Immigration), ตรวจหนังสือเดินทาง (Passport Control)





7. 手荷物受け取りターンテーブル (てにもつうけとりターンテーブル) = จุดรับกระเป๋าเดินทาง (Baggage Claim)





8. 荷物預かり証 (にもつあずかりしょう) = ใบรับกระเป๋าเดินทาง (Claim tag)






9. 遺失物取扱所 (いしつぶつとりあつかいじょ) = เคาท์เตอร์ติดตามสัมภาระสูญหาย (Lost & Found Counter)





10. 保安検査 (ほあんけんさ) = จุดตรวจค้นเพื่อรักษาความปลอดภัย (Security Check)






11. 税関 (ぜいかん) = ศุลกากร (Customs)





12. 免税店 (めんぜいてん) = ร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free Shop)





13. 便名 (びんめい) = ไฟล์ทบิน (Flights)








เป็นยังไงกันบ้างคะ ^ ^ คราวนี้เราก็รู้จักคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสนามบินกันบ้างแล้ว
คราวนี้ลองกลับมาแปลประโยคเดิมที่เขียนไว้ในบล็อคตอนแรกกันอีกทีดีกว่าเนาะ


ฉันทำบอร์ดดิ้งพาสกับใบรับกระเป๋าหาย ... ไม่ทราบว่ามีเคาท์เตอร์ติดตามสัมภาระสูญหาย (Lost & Found Counter) อยู่ใกล้ๆกับจุดรับกระเป๋าเดินทางมั้ยคะ ?

แปล ::

「搭乗券と荷物預り証をなくしてしまったんですが・・・手荷物受け取りターンテーブルの周りに遺失物取扱所がありませんか。」




อูว ... ดูหรูหราขึ้นมาเลยทีเดียว (ฮา)
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ^ ^

โดยส่วนตัวแล้วจะพยายามจำและนำไปใช้เมื่อยามจำเป็นในสนามบินให้ได้เลยค่ะ (ฮา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราเป็นคนพาครอบครัวเที่ยวด้วยแล้ว รู้ไว้ใช่ว่าจริงมั้ยคะ >_<

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบล็อคหน้านะคะ
สวัสดีค่า >/|\<




วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

[7] New me :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)

สวัสดีค่ะทุกคน ^ ^
สำหรับการอัพบล็อคครั้งที่ 7 ในครั้งนี้ ก็ยังคงต่อเนื่องจากบล็อคที่ผ่านมา
คือจะพูดถึงโปรเจกต์ I can change หรือพัฒนาการในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นกันนะคะ
สำหรับสิ่งที่จะนำเสนอในวันนี้ คือผลลัพธ์ของการฝึกฝนการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นในครั้งที่ 2 ค่ะ
หลังจากที่ครั้งแรกพูดไปแบบมั่วๆ และ ครั้งที่สองเป็นการเรียนรู้และเขียนแก้ไขนะคะ




อาทิตย์ที่ผ่านมา อาจารย์ให้เล่าเรื่อง 外国人 อีกครั้งหนึ่งอย่างกะทันหันค่ะ ถึงกับตกใจกันเลยทีเดียว (ฮา) แต่ไหนๆเราก็มีการฝึกมาบ้างแล้ว ทีนี้ลองมาดูผลลัพธ์ที่แท้จริงกันดีกว่าค่ะ

ครั้งนี้ เราพูดออกไปแบบนี้ค่ะ



 「実はね、昨日、面白い話を聞いたんですけど・・(えー、そうですか。) はい、その話はね、え・・ホテルのロビーで、二人の男の人が座っていました。一人の人は新聞を読んでいましたが、もう一人は・・え・・ただ座っていて、何もしなくてボーとあたりを見回していました。(うーん) すると、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。(あーそうですか。) そのおじさんはね、何か頼みごとをしたみたいで、その男性に近づいてきました。その男性は外国人と話す経験があまりなかったか、めんどくさいことになると思っているか、「あ、やばい!」と思って、() 笑、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、新聞の陰・・に隠れてしまいました。その外国人のおじさんはね、びっくりしました。(えーかわいそうね。)」



ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็ยังคิดว่ามันดีขึ้นกว่าคราวแรกมากอยู่เหมือนกันนะคะ ฮ่าๆ ถึงจะมีตะกุกตะกักอยู่บ้างเนื่องจากค่อนข้างกะทันหัน แต่จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาทำให้เราระมัดระวังในเรื่องของการใช้ 表現 ในด้านของคำบรรยายและคำศัพท์มากขึ้น อย่างเช่น 目が合ってしまいました、新聞の陰に隠れてしまいました เป็นต้น เพราะจากเดิมที่คิดไม่ออกเลยว่าจะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นยังไง แต่พอเราเรียนแล้ว เหมือนเรามีคำศัพท์อยู่ในหัวอยู่ และห้พูดอีกครั้ง เลยสามารถเลือกใช้และพูดออกมาได้ค่ะ 

นอกจากนี้ยังมีการใช้คำเชื่อมที่ฟังดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น เช่น すると เป็นต้น โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยใช้ そして เท่าไรนัก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ีดี แต่ก็ไม่รู้จะใช้คำเชื่อมอะไรเหมือนกัน (ฮา) แต่พอได้เรียนรู้การเล่าเรื่อง ก็ทำให้รู้จักเลือกใช้คำเชื่อมขึ้นมาค่ะ

รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับผู้ฟัง โดยการใช้คำว่า  เป็นระยะ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจในผู้ฟัง และการตอบรับสิ่งที่ผู้ฟังตอบมา อย่างการขานรับว่า はい หรือว่า そうです。ซึ่งก็สามารถจดจำและทำตามได้
และยังมีการใช้คำพูดในการบรรยายความรู้สึกตัวละครในเรื่อง เพื่อที่ผู้ฟังจะได้เข้าใจสถานการณ์หรือมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องที่เล่ามากขึ้นด้วยค่ะ

โดยรวมแล้วรู้สึกว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่ทำให้พัฒนาความสามารถในการพูดของตนเอง และระมัดระวังในการใช้คำต่างๆมากขึ้นกว่าเดิมมาก และทำให้เรียนรู้ที่จะมีสติและคอยเตือนตัวเองเรื่องการใช้คำหรือ 表現 ต่างๆมากขึ้นค่ะ และสำหรับเราแล้วมันค่อนข้างได้ผลทีเดียว ถึงจะเป็นเพราะจำได้เพราะเคยพูดมาแล้วครั้งนึงและเขียนแก้ไปแล้วครั้งนึงก็เถอะ แต่อย่างน้อยก็ได้รู้ว่ามันก็มีจำๆอยู่ในสมองเราเหมือนกันเนอะ ... อะไรประมาณนั้นน่ะค่ะ ฮ่าๆๆ





วันนี้อาจจะค่อนข้างสั้นนิดหน่อย เพราะเป็นการนำเสนอผลลัพธ์จากการฝึกฝนมา ซึ่งสำหรับตัวเราเองค่อนข้างพอใจในผลที่เกิดขึ้นนะคะ แต่ส่วนที่ต้องแก้ไขต่อไปก็ยังคงมีเหมือนกัน อย่างเช่น การใช้คำว่า えー ตอนคิด ซึ่งเราติดมากๆ www หรือการเลือกใช้คำอื่นๆ

ก็หวังว่าต่อไปสกิลการเล่าเรื่องของเราจะดีขึ้นจากการเริ่มต้นนี้ และเราเองก็จะพยายามระมัดระวังในการใช้คำพูดต่างๆมากขึ้นเหมือนกันค่ะ TwT สู้ !


สำหรับวันนี้ก็ขอจบการรายงาน (?) ผลลัพธ์ของโปรเจกต์ I can change เพียงเท่านี้นะคะ

สวัสดีค่า >_<

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

[6] พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)

สวัสดีค่ะ วันนี้เป็นการอัพบล็อกครั้งที่ 6 นะคะ ^ ^
สำหรับวันนี้จะมาในหัวข้อ I can change
ซึ่งเป็นการเล่าถึงพัฒนาการในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างเป็นขั้นตอนโดยเล่าภาพต่อไปนี้ค่ะ





และจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆในการใช้ภาษาญี่ปุ่นในการเล่าเรื่องด้วย
จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ลองมาติดตามกันดูนะคะ >_<



By myself : เป็นครั้งแรกที่เห็นภาพด้านบน และอาจารย์ให้เล่าให้เพื่อนฟังเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งค่อนข้างจะออกมาตะกุกตะกักและมั่วมากค่ะ (ฮา) เขินนิดหน่อยที่จะต้องลงอะไรตลกๆ แต่ว่าเพื่อการเรียนรู้ ครั้งแรกจากการถอดเทป เราเล่าประมาณนี้ค่ะ


 「ホテルのロビーはソファで二人の男の人が座っていました。え・・一人は新聞を読んでいましたけど、え・・もう一人は、え・・・ただ座っていました。しかし、ある外国人がいます。彼は地図を持って、カメラも持っていました。彼はただ座っていた人と目と合わせて、近づいていきました。その座っていた人はすごくびっくりして、え、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、自分を隠しました。外国人はびっくりしました。」



สิ่งที่อยากจะพูดแต่ไม่สามารถคิดและพูดออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ในทันทีมีอยู่หลายคำมากเลยค่ะ อย่างเช่น อยากจะพูดว่านั่งอยู่เฉยๆ แต่ ’เฉยๆ’ นีจะสื่อออกไปยังไงดี, อยากจะบอกว่าสบสายตากันโดยบังเอิญ แต่ก็ไม่สามารถพูดได้ เลยพูดออกไปตามที่คิดออกตอนแรกก็คือ 目と合わせて ซึ่ง ... น่าอายมากค่ะ T/////T
และอีกประการหนึ่งก็คือการที่อยากบรรยายความรู้สึกของคนในภาพให้มากกว่านี้ แต่ไม่สามารถพูดอะไรได้นอกจากคำว่า びっくりしました ซึ่งก็ทำให้รู้ตัวเองเลยค่ะว่าบกพร่องตรงนั้นไปอย่างแน่นอน

แต่หลังจากนั้น อาจารย์ก็แจกชีทที่คนญี่ปุ่นเล่าเรื่องทั้งหมด 11 คนมาให้อ่านและศึกษาดู รวมถึงอาจารย์ได้มีการสอนในชั้นเรื่องการเล่าเรื่อง 表現 ต่างๆที่ควรใช้และความเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงการบรรยายเรื่องต่างๆให้ ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ หลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งฉบับแก้อีกหนึ่งครั้ง  โดยจากการเรียนรู้และการศึกษาแล้ว เราส่งฉบับที่แก้ไปดังนี้ค่ะ


I see :

 「ホテルのロビーに二人の男の人がソファで座っていました。一人は新聞を読んでいましたけど、もう一人は何もしなくただ座っていました。ボーとあたりを見回していると、ふと、カメラを首からぶらさげ、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合ってしまいました。すると、突然そのおじさんは笑顔で何か頼みごとをしたそうに近づいてきました。その男性は外国人と話す経験があまりないか、めんどくさいことになると思うか、「やばい!」と思って、隣の新聞を読んでいた人と新聞を読むふりして、新聞の陰に隠れてしまいました。外国人のおじさんはびっくりして、言葉を失っていた、という話です。」


ซึ่ง ... แตกต่างจากครั้งแรกราวฟ้ากับเหว(ลึก)เลยล่ะค่ะ (ฮา)
จากการเรียนรู้จากชีทที่อาจารย์แจกให้และจากที่อาจารย์สอน ทำให้เราได้เรียนรู้ 表現 ที่ใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาติอยู่หลายอย่างเลยค่ะ อย่างเช่น การใช้ ふと ที่แปลว่า บังเอิญ目が合ってしまう、新聞の陰に隠れる และการใช้ ~てしまいました เป็นต้น
นอกจากนึัยังได้รู้ว่าในการเล่าเรื่อง คนญี่ปุ่นนั้นมีการใส่ความคิดเห็นของตัวเองลงไปด้วย อย่างเช่น การที่ตัวละครในภาพหลบชาวต่างชาติ ก็มีการใส่ความคิดเห็นลงไปว่า อาจเป็นเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ในการพูดคุยกับชาวต่างชาติ หรืออาจเพราะไม่อยากยุ่งยากหรือลำบาก เป็นต้น ซึ่งก็จะทำให้ผู้ฟังคิดตามและจินตนาการได้ง่ายขึ้นค่ะ
และอีกประการหนึ่งก็คือ การบรรยายความรู้สึกของคนในภาพ ที่ในตอนแรกเราไม่สามารถบอกอะไรได้เลยนอกจากคำว่า びっくりした แต่ก็เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นมีการใช้คำพูดบรรยายความคิด เพื่อให้ผู้ฟังจินตนาการได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ ในที่นี้ก็เช่น 「やばい!」と思って、・・・ นั่นเองค่ะ

หลังจากที่ได้เรียนรู้จากชีทและอาจารย์แล้ว ก็รู้สึกว่าการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ของตัวเองนั้นดีขึ้นเป็นอย่างมากเลยค่ะ เพราะว่าทำให้รู้ว่าควรจะอธิบายอย่างไร และทำให้ระวังตัวในการเลือกใช้คำ รวมไปถึง 表現 ต่างๆมากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็จะพยายามจดจำและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆรวมถึงในชีวิตประจำวันต่อไปด้วยค่ะ





ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการรายงานการพัฒนาตนเองในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นในโปรเจกต์ I can Change
ซึ่งในบล็อคถัดไป ก็ยังคงอยู่ในหัวข้อนี้นะคะ แต่ว่าเป็นการให้เล่าเรื่องเดิมซ้ำอย่างคาดไม่ถึงค่ะ (ฮา)
ผลที่แท้จริง(?)ภายหลังจากการเรียนรู้จะเป็นอย่างไรนั้น มาลองติดตามกันในบล็อคหน้านะคะ ^ ^;;

สำหรับวันนี้ สวัสดีค่า >_<