วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

[4] มารู้จักกับคันจิของเครื่องดนตรีต่างๆกันเถอะ ! 楽器の漢字を覚えよう !

สวัสดีค่าทุกคน ^^
วันนี้มาพร้อมกับการอัพบล็อกเป็นครั้งที่ 4 แล้วค่า
คราวที่แล้วเราก็รู้จักคันจิของซูชิหน้าต่างๆกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ

สำหรับหัวข้อของวันนี้ ก็ยังเป็นคันจิที่น่าสนใจเช่นเดิมค่ะ
ก็คือ คันจิของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆนั่นเองค่า

โดยปกติแล้ว ชื่อเครื่องดนตรีต่างๆในภาษาญี่ปุ่น เรามักคุ้นเคยกับการใช้อักษรคาตาคานะเรียกแบบทับศัพท์จริงมั้ยคะ
แต่พวกเครื่องดนตรีเหล่านี้ก็มีคันจิเป็นของตัวเองเหมือนกันน้า
สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องดนตรีส่วนมากจะลงท้ายด้วยคันจิ  ค่ะ
ซึ่งผู้เขียนเองก็สงสัยเหมือนกันว่าคันจิตัวนี้มันแปลว่าอะไร

และจากการสืบค้นก็พบว่า  เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของจีน มี 7 สาย เป็นเครื่องดีดค่ะ
อ่านว่า きん หรืออ่านแบบญี่ปุ่นก็คือ こと ค่ะ ซึ่งบางท่านอาจจะเคยได้ยินเครื่องดนตรีเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า พิณโกะโตะ กันใช่มั้ยคะ ^ ^
รูปร่างลักษณะแบบนี้ค่ะ






เรามาดูคันจิของเครื่องดนตรีไปพร้อมๆกันเลยค่า ^^



1. ピアノ = 洋琴 (ようきん)
















เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่เรารู้จักกันดีใช่มั้ยคะ
คันจิของเปียโน ประกอบขึ้นมาด้วย ซึ่งหมายถึงทางตะวันตก กับ 
ซึ่งพอมารวมกันแล้วจะหมายถึง โกะโตะของทางตะวันตก นั่นก็คือ เปียโนนั่นเองค่ะ



2. オルガン = 風琴 (ふうきん)




















ออร์แกนเป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเสียงโดยให้ลมไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกัน ซึ่งเสียงที่ได้จากแต่ละท่อก็จะมีความถี่แตกต่างกัน ทำให้ออร์แกนสามารถทำเสียงต่างๆได้เท่ากับเครื่องดนตรีหลายชิ้นรวมกันเลยค่ะ
และนี่ก็เป็นสาเหตุให้ตัวคันจิของออร์แกน ประกอบจากคำว่า (かぜ) ที่แปลว่า ลม กับ  นั่นเองค่า



3. 
アコーディオン = 手風琴 (てふうきん)

















แอคคอเดียน สังเกตได้ว่ามีคันจิที่คล้ายๆกับออร์แกนเลยใช่มั้ยคะ นั่นก็เพราะว่าหลักในการทำให้เกิดเสียงนั้น อาศัยลมและการสั่นสะเทือนให้เกิดคลื่นความถี่เสียงเช่นเดียวกันค่ะ แต่แอคคอเดียนนั้นมีขนาดเล็กและสามารถถือได้ ตัวคันจิจึงมีการเติม () ซึ่งแปลว่า มือ หรือในที่นี้คือสามารถพกพาได้ เข้าไปหน้าคำว่า 風琴 นั่นเองค่ะ



4. 
ハープ = 竪琴 (たてごと)

















าร์ป หรือ พิณ เป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องสาย ซึ่งจะทำเสียงโดยการใช้นิ้วดีดที่สายเสียงของเครื่องดนตรีค่ะ
สำหรับคันจิของฮาร์ป ประกอบด้วย  ที่มีความหมายว่า ความยาว,ความสูง หรืออาจหมายถึง บิดงอ ก็ได้ค่ะ กับคำว่า 
ซึ่งสาเหตุที่มีคันจิแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะลักษณะโครงขึงสายของฮาร์ปที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่บิดเบี้ยวเล็กน้อยเพื่อความสวยงามค่ะ



5. ヴァイオリン = 提琴 (ていきん)














ไวโอลิน มีตัวคันจิที่ประกอบด้วยคำว่า  (てい) ที่หมายถึง พกไปด้วย กับ 
กลายเป็น โกะโตะพกพา
เนื่องจากลักษณะของไวโอลินมีขนาดที่สามารถพกพาได้นั่นเองค่ะ



6. エレクトーン = 電子琴 (でんしきん)
















อิเล็กโทน เป็นเครื่องดนตรีที่มีคีย์บอร์ดเรียงกันหลายชั้น ลักษณะคล้ายกับออร์แกนคือสามารถทำเสียงได้เหมือนเครื่องดนตรีหลายชนิด แต่ที่แตกต่างกันคือการทำเสียงโดยใช้ไฟฟ้าแทนค่ะ
ซึ่งนั่นก็ทำให้คันจิของอิเล็กโทน คือ การนำคำว่า 電子 (でんし) ที่แปลว่า ไฟฟ้า มารวมเข้ากับคำว่า  กลายเป็น โกะโตะไฟฟ้า นั่นเองค่ะ



7. オルゴール = 自鳴琴 (じめいきん)

















หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม กล่องดนตรี นั่นเองค่ะ
สังเกตได้ว่าคันจิของกล่องดนตรี มาจากคำว่า ซึ่งแปลว่า (โดย)ตนเอง ที่แปลว่า ร้อง รวมกับคำว่า
รวมกันกลายเป็น โกะโตะที่สามารถส่งเสียงได้เอง นั่นเองค่ะ ตรงกับลักษณะของกล่องดนตรีจริงๆเลยใช่มั้ยคะ



8. ハーモニカ = 口風琴 (こうふうきん)
















ฮาโมนิกา เป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่า หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Mouth Organ นั่นเองค่ะ
หากสังเกตจากคันจิของเครื่องดนตรีชนิดนี้ จะเห็นได้ว่า มีการใช้คันจิคำว่า ที่แปลว่า ปาก มานำอยู่หน้าคำว่า 風琴 ที่หมายถึง ออร์แกน
รวมกันแล้วก็คือ ออร์แกนที่ใช้ปากในการทำเสียงดนตรี ค่ะ



9. シロフォン = 木琴 (もっきん)
















ไซโลโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ มีลักษณะคล้ายกับระนาด เป็นเสมือนกับระนาดของทางตะวันตกค่ะ
ซึ่งไซโลโฟนนี้จะทำจากไม้เนื้อแข็ง ดังนั้นคันจิของเครื่องดนตรีชนิดนี้จึงประกอบด้วยคำว่า ซึ่งหมายความว่า ไม้ กับ นั่นเองค่ะ



10.ギター = 六絃琴 (ろくげんきん)

















กีตาร์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เรารู้จักกันดีใช่มั้ยคะ
คันจิของกีตาร์ นำมาจากลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดนี้เลยค่ะ ก็คือจะมีทั้งหมด 6 สายด้วยกัน
คล้ายเป็น 六絃 รวมกับ กลายเป็น โกะโตะที่มี 6 สาย นั่นเองค่า






เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับคันจิของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆสำหรับบล็อกของวันนี้
เราอาจจะได้เห็นคันจิเหล่านี้ได้ตามหนังสือหรือบทความต่างๆ แต่ส่วนใหญ่หากมีอักษรฟุริงะนะให้ด้วย ก็จะเขียนฟุริงะนะเป็นคำออกเสียงแบบทับศัพท์ค่ะ
คราวนี้เราก็ได้รู้คันจิของเครื่องดนตรีกันแล้วนะคะ ^ ^


สำหรับบล็อกครั้งต่อไปจะเป็นอะไรนั้น  มาลองติดตามกันดูนะคะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ ไว้พบกันครั้งหน้าค่า

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

[3] มาเรียนคันจิของหน้าซูชิกันเถอะ ! 鮨種の漢字を覚えよう >_< !

สวัสดีค่าทุกคน ^ ^
มาอัพบล็อกครั้งที่สามเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ 



วันนี้เรามาดูเรื่องเบาๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันกันดีกว่า
เวลาเราไปทานซูชิ (โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น) เราจะชอบเจอพวกป้ายเมนูอาหารที่แขวนตามร้านเยอะๆกันใช่มั้ยคะ ปกติแล้วอาจจะเป็นฮิรางานะก็จริง แต่บางครั้งก็มีตัวคันจิที่อ่านไม่ออกเต็มไปหมด
ยิ่งบางร้านถ้าไม่มีภาพประกอบก็อาจจะงงกันไปเลย





มองป้ายแล้วก็ ...
#ร้องไห้หนักมาก


ฉะนั้น วันนี้เราจะนำเสนอ คันจิของหน้าซูชิ กันค่า 

ก่อนอื่นเรามาดูคันจิคำว่า すし กันนะคะ
โดยทั่วไปแล้ว เราจะคุ้นเคยกับคันจิว่า 寿司 ถูกไหมคะ
แต่จริงๆแล้วซูชิก็มีคันจิอีกตัวนึงที่เป็น 魚へん ด้วยนะคะ ก็คือ


鮨 (すし)


ที่น่าสนใจและรู้สึกว่ามันน่ารักก็คือ มาจากคันจิ 魚 (さかな) ที่แปลว่า ปลา กับคำว่า 旨い (うまい) ที่แปลว่า อร่อย ค่ะ
พอรวมปลา + อร่อย ก็กลายเป็นคำว่าซูชิเลย น่ารักใช่มั้ยล่ะคะ ^ ^


ต่อไปนี้ เราจะมาดูคันจิของปลาที่พบบ่อยๆในหน้าซูชิกันค่ะ


1.  (あさり)

















หอยอาซาริ หรือภาษาไทยก็คือหอยลายนั่นเองค่ะ
โดยคำว่า ที่เอามาประกอบกับ 魚へん นั้นมีความหมายดั้งเดิมว่า ขุดขึ้นมาจากดิน (土を掘り起こす) ซึ่งเราคงเคยได้ยินคนพูดว่า ขุดหาหอยอาซาริ กันใช่มั้ยคะ ก็เลยเป็นที่มาของคันจิตัวนี้ค่ะ



2.  (あわび)















หอยอาวาบิ หรือที่เรารู้จักกันในนาม หอยเป๋าฮื้อ นั่นเองค่ะ
คำว่า  ในประเทศจีนจะหมายถึงปลาที่ผ่าท้องแล้วหมักเกลือ
แต่ในภาษาญี่ปุ่น จะมีความหมายว่า ห่อ, บรรจุ ค่ะ
พอมารวมกับ 魚へん ก็จะกลายเป็น หอยเป๋าฮื้อ ค่า


3. 鮭 (さけ、しゃけ)


 



ในที่สุดก็มาถึงของโปรดของเจ้าของบล็อก ปลาแซลมอนนั่นเองค่า >_< !!
โดยที่มาของคันจิ  คือ ปลาที่มีลักษณะยาวสวย นั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ คันจิตัวนี้ยังแยกได้เป็น 十一 เขียนซ้ำสองครั้งได้ด้วย เพราะฉะนั้น วันที่ 11 เดือน 11 จะถือว่าเป็นวันปลาแซลมอนด้วยค่ะ


4.  鯨 (くじら)


















หรือภาษาไทยก็คือ วาฬ นั่นเองค่า
คันจิ มีความหมายว่า เนินเขาสูง หรือ ใหญ่ ค่ะ
ดังนั้น วาฬ ที่มีตัวใหญ่มาก จึงใช้รวมกับ 魚へん กลายเป็นคันจิตัวนี้นี่เองค่ะ



5. 鮪 (まぐろ)







มากุโร่ หรือ ปลาทูน่า ที่เรารู้จักกันดีค่ะ
คันจิ นั้นหมายถึง มีอยู่ เป็นการแสดงการมีอยู่
ซึ่งเหมาะกับปลาทูน่าที่ตัวใหญ่มาก จึงเป็นที่มาของคันจิตัวนี้ค่า


6. 鯖 (さば)
















ปลาซาบะ
คันจิ เป็นคันจิที่เรารู้จักกันดีใช่มั้ยคะ ความหมายก็ตรงตัวเลยค่า
เพราะว่าปลาซาบะมีลำตัวด้านบนที่สีออกเขียวๆฟ้าๆ
ดังนั้นจึงเอา 魚へん รวมกับ  กลายเป็นคันจิตัวนี้นั่นเองค่ะ



7. 鰺 (あじ)















ปลาอาจิ หรือก็คือ ปลาทูแขก นั่นเองค่ะ
ตัวคันจิ นี่จะมีเสียงเหมือนคำว่า ที่แปลว่า สาม ใช่มั้ยคะ
ว่ากันว่าปลาชนิดนี้จะอร่อยที่สุดในเดือน 3 ค่ะ
เลยนำคำว่า () รวมกับ 魚へん กลายเป็นคันจิของปลาทูนั่นเองค่า



8. 鯛 (たい)

 

ภาษาไทยก็คือ ปลากระพง ค่ะ
โดยคันจิ นี่มีความหมายว่า รอบ, ขอบเขต
เนื่องจากปลากระพงเป็นปลาที่สามารถตกได้ตลอดปีได้ทุกส่วนของประเทศญี่ปุ่น
จึงนำคันจิตัวนี้มารวมกับ 魚へん กลายเป็นคันจิของปลากระพงค่ะ


9. 鮹 (たこ)

















ภาษาไทยก็คือ หมึก นั่นเองค่ะ
โดยคันจิ  มีความหมายว่า ผอม, บาง ค่ะ
แต่ในที่นี่ เนื่องจากหมึกจะพ่นน้ำหมึกออกมาเพื่อพรางตัว
คันจิ  ที่จริงแล้วจึงมาจากคันจิ  ที่แปลว่า หายไป เอามารวมกับ 魚へん กลายเป็นคันจิของหมึกค่ะ


10. 鮎 (あゆ)
















ปลาอะยุ
เนื่องจากในสมัยก่อน มีการใช้ปลาในการทำนายค่ะ
ดังนั้นจึงนำคันจิ ที่แปลว่า ทำนาย มาประกอบรวมกับ 魚へん กลายเป็นคันจิตัวนี้นี่เองค่ะ


11. 鰻 (うなぎ)














ปลาไหล
ตัวคันจิที่นำมาประกอบกับ 魚へん ก็คือ  ค่ะ
โดยคันจิตัวนี้ มีความหมายว่า ยาวและแคบ ซึ่งตรงกับลักษณะของปลาไหล
จึงนำมาเป็นคันจิของปลาไหลนั่นเองค่า


12. 海栗 (うに)















ไข่หอยเม่น
เนื่องจากลักษณะของไข่หอยเม่น เหมือนกับเกาลัดในท้องทะเล
ทำให้ไข่หอยเม่นมีคันจิเป็น (ทะเล) รวมกับ (เกาลัด) นั่นเองค่ะ


13. 海老 (えび)

 

กุ้ง
เนื่องจากลำตัวของกุ้งมีลักษณะงอเหมือนกับคนชรา
จึงทำให้เหมือนกับผู้เฒ่าแห่งท้องทะเลค่ะ
คันจิของกุ้งจึงเป็น (ทะเล) รวมกับ (ชรา) นั่นเองค่า





เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับคันจิรอบนี้
หวังว่าทุกๆท่านคงจะเพลิดเพลินกับการอ่านนะคะ
ถ้ามีโอกาส ลองจำกันและไปอ่านป้ายเมนูร้านซูชิกันนะคะ >_<

สำหรับวันนี้ก็ขอจบบล็อกเพียงเท่านี้ค่ะ
สวัสดีค่า