วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

「Lang-8」:研究領域の説明の内省

สวัสดีค่ะทุกคน >_< หลังจากที่ในหัวคิดนู่นคิดนี่แล้วยังไม่ได้ตัดสินใจเรียบเรียงเป็นบล็อกสักที ก็เลยคิดว่าขอให้งาน Lang-8 นี้เป็นตัวเปิดประเดิมบล็อกของเราเลยแล้วกันเนอะ แฮ่

งานนี้เป็นงานที่อาจารย์ให้เราอธิบายความหมายหรือขอบเขตของงานวิจัยของเรา และโพสต์ลงไปในเว็บ Lang-8 เพื่อให้คนญี่ปุ่นช่วยแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดค่ะ

ซึ่งเนื้อหาของงานวิจัยของเราก็เป็นประมาณนี้


今、祭りの和菓子と日本人のについて研究しています。

和菓子は日本の食文化の一つですが、食べる日本人の方が減少しているそうです。そのため、日本の祭りにおける和菓子、例えば、雛祭りの菱餅、お正月の花びら餅などの信仰や意味を調べて、20代の日本人はそれに対してどう思うか、または、祭りの和菓子を食べたことがあるかを調査するという研究です。


หลังจากที่โพสต์ไปไม่นาน (ไม่นานจริงๆ) ก็มีคนญี่ปุ่นช่วยแก้ให้ตั้งสามคน TvT ดีใจมาก
ซึ่งเนื้อหาที่ได้รับการแก้จะมีดังต่อไปนี้นะคะ


今、祭りの和菓子と日本人のについて研究しています。

→ 今、和菓子と日本人について研究しています。
→ 今、祝祭の日の和菓子と日本人について研究しています。


จากตรงนี้จะได้เห็นการแก้ไขที่แตกต่างกันไป

สำหรับคนแรก การเขียนของเราคงจะดูเจาะจงไปหน่อย น่าจะพยายามทำให้ดูมีความเป็นหัวข้อมากขึ้น
สำหรับคนที่สอง ทำให้ได้รู้คำศัพท์ที่ดูมีระดับไปอีกขั้นหนึ่ง ฮ่าๆ หลังจากที่ไปค้นมาแล้ว 祝祭の日 (อ่านว่า しゅくさいのひ) ก็แปลว่าวันเทศกาลเหมือนกัน ส่วน の ที่เกินมา เราเผลอพิมพ์เกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจ TwT เพราะฉะนั้นนี้คือความผิดพลาดเพราะความสะเพร่าของตัวเอง OTL



和菓子は日本の食文化の一つですが、食べる日本人の方が減少しているそうです。

→ 和菓子は日本の食文化の一つですが、食べる人が減少しているそうです。
→ 和菓子は日本の食文化の一つですが、和菓子を食べる日本の方が減少しているそうです。
→ 和菓子は日本の食文化の一つですが、和菓子を食べる日本人の数が減少しているそうです。


เป็นประโยคที่ทั้งสามคนแก้ให้เลย

สำหรับคนแรก คิดว่าเพราะว่าบอกอยู่แล้วว่าเป็น 日本の食文化 เลยไม่มีความจำเป็นต้องใส่ 日本 ที่คนอีก
สำหรับคนที่สองและคนที่สามที่มีความคล้ายคลึงกัน คิดว่าเป็นการทำให้ประโยคมีความละเอียดเจาะจงมากขึ้นด้วยการบอกว่า ทานอะไร และใส่คำว่าจำนวนเข้าไปด้วย เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ลดลงคือ จำนวนคนที่ทานขนมญี่ปุ่น


そのため、日本の祭りにおける和菓子、例えば、雛祭りの菱餅、お正月の花びら餅などの信仰や意味を調べて、20代の日本人はそれに対してどう思うか、または、祭りの和菓子を食べたことがあるかを調査するという研究です。

→ そのため、日本の祭り食べる和菓子、例えば、雛祭りの菱餅、お正月の花びら餅などがもつ意味を調べて、20代の日本人はそれに対してどう思うか、または、祭りの和菓子を食べたことがあるかを調査するという研究です。
→ そのため、日本の祭りにおける和菓子、例えば、雛祭りの菱餅、お正月の花びら餅などの信仰や意味を調べて、20代の日本人それに対してどう思うか、また、祭りの和菓子を食べたことがあるかを調査するという研究です。
→ そのため、日本の祭りにおける和菓子、例えば、雛祭りの菱餅、お正月の花びら餅などの信仰や意味を調べて、20代の日本人はそれに対してどう思っているかか、また、祭りの和菓子を食べたことがあるかを調査するという研究です。


ประโยค (ยาวๆ) สุดท้าย ก็เป็นอีกประโยคที่ทั้งสามคนช่วยแก้ให้

สำหรับคนแรก แตกต่างจากคนที่สองและสาม คือเปลี่ยนจากคำว่า における เป็น 食べる จริงๆที่ใช้ における เพราะรู้สึกว่าสวยจุง 5555555 แต่ทำให้รู้ว่านอกจาก における แล้วก็ยังใช้ 食べる ได้ด้วยน้า แล้วก็ ที่น่าสนใจสำหรับตัวเราเองก็คือ การใช้ がもつ意味 ที่เราไม่ค่อยนึกถึง แต่ก็ไว้บอกตัวเองว่า 意味 นี่ใช้กับ 持つ ก็ได้เนอะ

สำหรับคนที่สอง มีเปลี่ยน は เป็น が แต่คนที่หนึ่งกับสามไม่ได้เปลี่ยนให้ เลยคิดว่าน่าจะเป็นอีกมุมมองประมาณว่าพูดถึงครั้งแรก หรือไม่ใช่ประเด็นหลักของประโยคอะไรแบบนั้น แล้วก็มีใส่คำว่า 等 มาให้ด้วย อารมณ์เหมือนไม่ใช่แค่นี้นะ นี่เป็นการยกตัวอย่าง ซึ่งตรงนี้ก็เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับตัวเราเลย

สำหรับคนที่สาม แก้จาก 思う เป็น 思っている ให้ แล้วก็ตัด は ตรง または ออก ซึ่งก็แตกต่างจากอีกสองคนอีกแล้ว จากที่แก้ คิดว่าเป็นการบอกว่า ปัจจุบันนี้คิดยังไงอยู่ แบบบ่งบอกถึงความเป็นปัจจุบันนี้มากขึ้น

สังเกตได้ว่าทั้งสามคนแก้ในจุดที่แตกต่างกันหมดเลย
พอเห็นว่าส่วนที่ผิดค่อนข้างน้อยมากๆ (สำหรับเรา) เราเลยดีใจมากๆ T/////T ยิ่งคนแก้ชมด้วยว่า とてもお上手ですね ก็เขินเลย ฮ่าๆ (#ผิด #บ้ายอ)

นับว่าเป็นบทเรียนที่ดีมากๆ ทำให้มองในมุมที่ละเอียดขึ้นได้อีก ต้องขอขอบพระคุณทั้งสามท่านที่ช่วยกรุณาแก้ไขให้มากๆนะคะ _/|\_

หลังจากที่เราได้รับการแก้ไข ก็อยากจะบอกทุกคนที่แก้ให้ว่า ขอบคุณที่แก้ให้นะคะ ตอนแรกก็จะเขียนไปว่า 直してくださって、ありがとうございます。 แต่พอเห็นคำว่า 直す แล้วก็รู้สึกแปลกๆ ไหนๆเราก็มุ่งเป้าหมายว่าจะเพิ่ม 漢語 แล้ว ศัพท์สวยๆของ 直す นี่คืออะไรนะ ?

คิดได้ดังนั้นก็เลยไปเปิดพจนานุกรม และได้คำตอบว่า 「修正」 (しゅうせい) แปลว่า Correction ได้อย่างสวยงาม และไหนๆก็รู้คำตอบแล้ว ก็เลยลองใช้ซะเลย






ก็ขอจบบล็อกแรกเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่อ่านกันนะคะ >_< เย่ 




3 ความคิดเห็น:

  1. lang8 ใช้ได้จริงด้วย เขียนได้ดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. はじめまして。

    そうですか。お祭りの和菓子と日本人についての研究ですか。おもしろそうですね。
    わたしはお祭りと和菓子の関係は知りませんが、高校の修学旅行のとき、班で選んだテーマが「和菓子」だったことを思い出してなんだかなつかしかったです。
    わたし自身は和菓子の甘さは苦手で食べられないものが多いのですが、きれいなので眺めるのはとても好きです。

    どんな結果が出るか楽しみですね。

    ตอบลบ
  3. コメントありがとうございます。>< 機会がありましたら本当にしてみたいです。

    ตอบลบ